การตรวจสอบเสาเข็มภายหลังเสาเข็มเจาะเสร็จแล้ว เป็นวิธีการตรวจสอบเสาเข็ม เพียงเพื่อที่จะตรวจสอบถึงความสมบูรณ์ของเสาเข็มที่ได้ทำไปแล้วเท่านั้น โดยถ้าพบความผิดปรกติเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ นอกจากจะยกเลิกเสาเข็มต้นนั้นไป หรือเพิ่มแซมเสาเข็มต้นใหม่
วิธีการตรวจสอบเสาเข็มเจาะโดยทั่วไป ที่ทำอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 วิธี
v การตรวจสอบคุณภาพเข็มด้วยระบบคลื่นเสียง (Seismic test) เป็นการตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของ เสาเข็มโดยใช้คลื่นเสียง โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทำการตรวจวัด แล้วดูผลว่าเสาเข็มแต่ละต้น มีสภาพใต้ดินเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่งสำหรับเสาเข็มเจาะทุกต้น เพื่อความมั่นใจ เพราะการตรวจแบบนี้ ทำง่ายและราคาไม่แพง อาจมีค่าใช้จ่ายแค่ต้นละไม่ถึง 150 บาทด้วยซ้ำ (ขึ้นอยู่กับปริมาณ และการต่อรองราคา)
v การทดสอบการรับน้ำหนักด้วยวิธีไดนามิคเทส (Dynamic pile test) เป็นการตรวจสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยตรง โดยการใช้น้ำหนักจริง(ลูกตุ้ม) นำมาตอกลงบนหัวเสาเข็ม เพื่อประเมินผลการทรุดตัวของเสาเข็ม แล้วจึงนำไปคำนวนการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่แท้จริง ว่าสามารถรับกำลังได้เท่าไร วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร(แพงกว่าตัวเสาเข็ม) ส่วนใหญ่เราจึงไม่ทำการตรวจสอบนี้ในทุกๆงาน แต่อาจทำการตรวจสอบในกรณีที่ เสาเข็มมีปัญหา ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ หรืออาจทำในโครงการใหญ่ๆที่วิศวกรต้องการทราบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม เพื่อความแม่นยำในการออกแบบ
v การทดสอบการรับน้ำหนักด้วยวิธี (Static pile test) เป็นการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่แม่นยำมากที่สุด เพราะเป็นการทดสอบที่ใช้น้ำหนักจริงในการกดทดสอบเสาเข็ม(อาจเป็นแท่งคอนกรีตหลายๆแท่งมาวาง) มีราคาค่าทดสอบสูงมาก? จึงใช้แต่โครงการใหญ่ๆ ที่ต้องการความแม่นยำสูงเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น