การตรวจสอบเสาเข็มระหว่างก่อสร้าง หรือการควบคุมคุณภาพเสาเข็ม
v การตรวจสอบระยะ และตำแหน่งที่ถูกต้องของเสาเข็มเจาะ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย (เกินกว่าที่วิศวกรยอมรับได้) อาจเป็นผลให้เสาเข็มเยื้องศูนย์ส่งผลกระทบต่อฐานราก และวิศวกรต้องออกแบบฐานรากหรือจำนวนเสาเข็มใหม่ วิธีการตรวจสอบที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่ผู้รับเหมาหลักมีหน้าที่ต้องตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็ม โดยการทำหมุดอ้างอิงและตรวจสอบตั้งแต่เริ่มเจาะเสาเข็ม
v ความลึกของเสาเข็มเจาะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นหัวใจสำคัญในการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะ เพราะการรับน้ำหนักของเสาเข็มเจาะที่สมบูรณ์ ปลายเสาเข็มต้องนั่งอยู่บนชั้นทราย หรือชั้นดินแข็ง เสาเข็มจึงจะสามารถรับน้ำหนักได้ 100% ผู้ตรวจสอบต้องใช้ประสบการณ์และความรู้พอสมควรในการทำงาน ดังนั้นวิธีการตรวจสอบความลึกของเสาเข็ม ที่สามารถบอกเป็นแนวทางปฏิบัติได้คร่าวๆ คือ ผู้ตรวจสอบจำเป็นต้องสังเกตุชั้นดินของเสาเข็มจากเศษดินที่ขุดขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจาะเสาเข็มต้นแรก ว่าลักษณะของชั้นดินบริเวณนั้นเป็นอย่างไร ชั้นดินแข็งหรือชั้นทรายอยู่ที่ประมาณความลึกเท่าไร และทำการจดบันทึกลักษณะชั้นดินนี้ ไว้ไปเปรียบเทียบกับชั้นดินในการเจาะเสาเข็มต้นต่อไป ว่าลักษณะ และสีของดิน ควรจะเหมือนกันก่อนทำการเทคอนกรีต โดยไม่จำเป็นต้องมีความลึกเท่ากันทุกต้นก็ได้
v การตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นเรื่องมาตราฐานที่ควรทำอยู่แล้วในทุกขั้นตอนของการก่อสร้างอาคาร ไม่ใช่แค่เพียงเสาเข็มเจาะเท่านั้น เพราะวัสดุที่มีขายอยู่ในตลาด ไม่ว่าจะเป็น คอนกรีต เหล็ก มีหลายชั้น หลายเกรดมาก ยกตัวอย่างเช่น เหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้างขนาด 12 มม. มีให้เลือกใช้ถึง 4-5 แบบ ราคาถูก-แพงต่างกัน คุณภาพก็ต่างกันไปตามราคา ดังนั้น การตรวจสอบวัสดุจึงต้องตกลงกับผู้รับเหมาให้ดีก่อนการทำงาน ทั้งเรื่องจำนวนที่ใช้ และชั้นคุณภาพของวัสดุ เพราะมีผู้รับเหมาเสาเข็มเจาะที่รับงานราคาถูกบางราย มีมาตราฐานในการเสนองานที่ต่ำกว่ามาตราฐาน เช่น เสาเข็มเจาะขนาดความลึก 21 เมตร แต่เสริมเหล็กมีความยาวแค่ 10 เมตร เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น